!-- SCM Music Player http://scmplayer.net -->

วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


บันทึกการเรียน วันที่ 26  เมษายน พ.ศ. 2560



ความรู้ที่ได้รับ

        นำเสนอโมเดลโรงเรียน




การประเมิน
     อาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี
     ตนเอง   : ให้ความร่วมมือเพื่อนในกลุ่มในการสร้างชิ้นงานและเตรียมการนำเสนอเป็นอย่างดี
     เพื่อน     : ทุกคนให้ความร่วมมือและทำหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี


วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


บันทึกการเรียน วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560







ความรู้ที่ได้รับ


โรงเรียนงามมานะ 

ปรัชญา      
ความดีและความรู้เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต

วิสัยทัศน์    
เป็นโรงเรียนที่มุ่งพัฒนา   คุณภาพนักเรียน รักษ์สิ่งแวดล้อม และความเป็นไทย 
 พร้อมก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน

พันธกิจ

  1. การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
  2. การเสริมสร้างศักยภาพครู
  3. การพัฒนาคุณภาพนักเรียน
  4. รักษ์สิ่งแวดล้อมและความเป็นไทย
  5. โรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
  6. โรงเรียนบริหารจัดการระบบการประกันคุณภาพ








โรงเรียนอนุบาลลูกหนู

ปรัชญา




ส่งเสริมปัญญา  พัฒนาปฐมวัย   และใฝ่ใจใจคุณธรรม


วิสัยทัศน์




  เรียนและเล่นให้สนุก   ได้ความรู้ควบคู่-คุณธรรม 
มีกระบวนการความคิดสร้างสรรค์  สืบสานวัฒนธรรมไทย  ก้าวทันเทคโนโลยี

พันธกิจ
  1. ส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์และจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาได้อย่ามีประสิทธิภาพ ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครบทั้ง 4 ด้าน
  2. จัดสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ในการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจากประสบการณ์จริง โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางศักยภาพของแต่ละบุคคล ให้ครู ผู้บริหาร ครู ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้ปกครองและชุมชน ในการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยและร่วมกันเสนอแนะ
  3. จัดกิจกรรม/โครงการต่างๆที่พัฒนาเด็กให้มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักการรอคอยรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเหมาะสมตามวัย และสามารถปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ปลูกฝังให้เด็กได้ซึมซับคุณค่าของความเป็นไทย และสร้างจิตสำนึกที่ดี โตไปไม่โกง
  4. จัดกิจกรรมการนั่งสมาธิให้เกิดสติ กิจกรรมการช่วยเหลือสังคม กิจกรรมรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5. โรงเรียนส่งครูเข้าอบรมเชิงปฏิบัติในด้านวิชาการ จัดการนิเทศทั้งภายใน ภายนอกและเชิญวิทยาผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความรู้ในด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง
  6. ให้บุคลากรทางการศึกและครูปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาใช้สารสนเทศเป็นฐานในการจัดการโรงเรียนจัดให้มีโครงการต่างๆ ที่มีเป้าหมายในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรณรงค์ในเรื่องของยาเสพติด





โรงเรียน เทพประทานพร
จังหวัด นนทบุรี



วิสัยทัศน์
1. มุ่งมั่นพัฒนาโรงเรียนให้มีความพร้อมทุกด้านที่จะเป็นโรงเรียนที่สมบูรณ์แบบ 
2. มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอน 
3. พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 
4. เน้นความเป็นเลิศในวิชาคณิตศาสตร์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5. มีคุณธรรมจริยธรรมมารยาทการอยู่ร่วมสังคมอย่างมีความสุข
6. มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย 
7. รู้ทันเรื่องม่านเมฆภาษาล้ำหน้าเรื่องไอที


การประเมิน
     อาจารย์ :  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ให้คำแนะนำที่ดี เตรียมสื่ออุปกรณ์การสอนมาอย่างครบถ้วน
     ตนเอง   : ช่วยเพื่อนเตรียมสื่อที่ใช้ในการรายงานและร่วมรายงานผลงานกลุ่มของตนเองได้เป็นอย่างดี
     เพื่อน     : ทุกคนเตรียมสื่อในการนำเสนอผลงานกลุ่มของตนเองได้เป็นอย่างดี


วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


บันทึกการเรียน วันที่ 29  มีนาคม พ.ศ. 2560



ความรู้ที่ได้รับ
     การขอจัดตั้งสถานศึกษาปฐมวัย
โดยมีหลักการจัดตั้งอยู่ 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1
  • การจัดหาสถานที่ /ที่ดิน
  • อาคารเรียน/ห้องเรียน
  • คุรุภัณฑ์/อุปกรณ์การเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการศึกษา
ขั้นตอนที่ 2
  • การขอจัดตั้ง
  • การยื่นเรื่อง
ขั้นตอนที่ 3
  • การขอรับใบอนุญาติ

นำเสนอคำคม
     1. นางสาวรัตนาภรณ์  คงกะพันธ์
     2. นางสาวชนากานต์ พงศ์สิทธิศักดิ์
การประเมิน
     อาจารย์ :  อาจารย์เตรียมสื่อในการสอนและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาการสอนได้อย่างละเอียด
     ตนเอง   : ตั้งใจเรียนและทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่ายขึ้น
     เพื่อน     : ตั้งใจเรียน มาเรียนสายบ้างเล็กน้อย

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9




บันทึกการเรียน วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
นำเสนอบทบาสมมุติ
       การเป็นผู้บริหารที่ดี และไม่ดี ร่วมถึงบทบาทของผู้ใต้บังคับบัญชา
นำเสนอคำคม
     1. นางสาววัชรี  วงศ์สะอาค
     2. นางสาวยุภา  ธรรมโคตร


ภาพประกอบการเรียนการสอน








การประเมิน
     อาจารย์ : อาจารย์แนะนำบทบาทผู้บริหารเพิ่มเติม โดยการยกตัวอย่างผู้บริหารที่ดีและไม่ดี ให้ผู้เรียนได้เข้าใจในส่วนนั้นมากขึ้น และให้คำชี้แนะในส่วนของการแสดงบทบาทสมมุติได้อย่างดีมาก
     ตนเอง   : ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมุติในกลุ่มของตนเองอย่างดี
     เพื่อน     : แต่ละคนตั้งใจแสดงบทบาทสมมุติของกลุ่มตนเองดีมาก

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


บันทึกการเรียน วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560



ความรู้ที่ได้รับ

เทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร

ความหมายของบุคลิกภาพ

ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่รวมอยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งและเป็นผลทำให้บุคคลนั้น มีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 สภาพ ด้วยกันคือ

            บุคลิกภาพภายนอก สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึกเลียนแบบ และสามารถวัดผลได้ทันที บุคลิกภาพภายนอกที่สำคัญที่สุด คือ บุคลิกภาพทางกายและวาจา

            บุคลิกภาพภายใน หมายถึง บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นส่วนที่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัส

ประเภทของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพภายนอก  คือ  สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของแต่ละคนสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แบ่งได้เป็น  
            4 หมวด คือ
            1.  รูปร่างหน้าตา
            2.  การแต่งกาย
            3.  กิริยาท่าทาง
            4.  การพูด

บุคลิกภาพภายใน  คือ สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ หรืออุปนิสัยใจคอที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้  แก้ไขได้ยาก  เช่น
1. ความเชื่อมั่นในตนเอง              2. ความกระตือรือร้น

             3. ความรอบรู้                                4. ความคิดริเริ่ม

             5. ความจริงใจ                              6. ไหวพริบปฏิภาณ

             7. ความรับผิดชอบ                       8. ความจำ

             9. อารมณ์ขัน

การมองตัวเองในกระจกเงา

ì การมองเห็นตัวเอง

ì การยอมรับตัวเอง

ì การเข้าใจในตัวเอง

ì ความเชื่อถือตัวเอง

ì ความต้องการเปลี่ยนตัวเอง

หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ
การยืน เดิน นั่งเป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอิริยาบถคือการเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม
การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่างๆการไปเยี่ยมคนป่วยการมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น
บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี

แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ
การรักษาสุขภาพอนามัย
      -  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
      รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
      -  ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มหรือลดผิดปกติ
      -  ละเว้นการสูบบุหรี่หรือยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
      -  ไม่ดื่มสิ่งของที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
      -  พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ วันละ 7-8 ชม.
      -  รักษาอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ

การดูแลร่างกาย
    -  รักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน
    -  ดูแลรักษาเส้นผมและทรงผมให้เรียบร้อยทั้งด้านความสะอาดและรูปทรง
    -  โกนหนวดเคราให้เกลี้ยงเกลา ตัดและขริบให้เรียบร้อย
    -  รักษาผิวพรรณให้สะอาดสดชื่นอยู่เสมอ อย่าให้ผิวแห้งกร้าน
    -  รักษากลิ่นตัว 
    -  รู้จักการแต่งหน้าแต่พองาม
    -  ดูแลเล็บมือ เล็บเท้า ให้สะอาดอยู่เสมอ
    -  ปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในที่สวมใส่ทุกวัน
    -  ควรมีการเช็คร่างกายเป็นประจำทุกปี
    -  เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติรีบไปปรึกษาแพทย์

การแต่งกาย
     -  สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักรีดให้เรียบ
     -  สีสันไม่ฉูดฉาดควรเลือกสีให้เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณของตนเอง
     -  กระเป๋าถือและรองเท้า ควรใช้หนังที่มีคุณภาพดี สีเรียบ สำรวจส้นรองเท้าจัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อย
     -  แต่งหน้าให้แนบเนียน ไม่แต่งเข้มผิดธรรมชาติ เลือกใช้เครื่องสำอางที่มีคุณภาพดี
     -  เล็บและการทาเล็บ ไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไป ควรเลือกสีกลาง ๆ อย่าปล่อยให้สีถลอกจะไม่น่าดู
     -  ผม หมั่นสระให้สะอาด  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง  แปรงหวีให้เรียบร้อย เลือกทรงผมที่รับกับใบหน้า
     -  เครื่องประดับ ควรใช้เพื่อเสริมการแต่งกายให้ดูดีขึ้น แต่ไม่ควรใช้เครื่องประดับมากจนเกินไปจนดูสะดุดตารกรุงรังไปหมด
     -  ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
     -  ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

อารมณ์
        รู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ไปตามใจตนเอง  คนที่ควบคุมอารมณ์ตนเองได้จะได้เปรียบและจะเอาชนะเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นได้  ในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนอารมณ์กันอยู่เสมอ
        ฉะนั้น บุคคลใดที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนให้ดีขึ้นจะต้องเป็นคนรู้จักอดทนใจเย็นเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเกิดขึ้น

ความเชื่อมั่นในตนเอง
      -  ยอมรับในความสามารถของตนเอง
      -  อย่าเล็งผลเลิศในการทำงานจนเกินไป
      -  อย่าถือคติว่าการทำงานสิ่งใดเมื่อทำแล้วต้องดีที่สุด
      -  อย่านำความเก่งของผู้อื่นมาทับถมตนเอง
      -  หมั่นฝึกจิตใจตนเองให้ชนะความกลัวให้ได้

การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด
ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี
ไม่มองคนในแง่ร้ายจิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้นจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้
    1.  มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่าง ๆ
    2.  มีความซื่อสัตย์ กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา แล้วความไว้วางใจจะตามมา มีเรื่องสำคัญเขาก็จะให้เราทำ
    3.  มีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับผู้ที่มอบหมายไว้วางใจให้เราทำ
    4.  มีความกระตือรือร้น ที่อยากจะทำ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
    5.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ
    6.  มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา
    7.  มีความรอบรู้                   
    8.  ห่วงตัวเอง เติมชีวิตให้กับตัวเอง
    9.  มีความจำแม่น                 
10.   วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ

การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน
  การยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง 
  การปรับปรุงในส่วนที่จะปรับปรุงได้ 
  การใช้สิ่งอื่นๆ เพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพ 
การส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดีควรส่งเสริมคุณภาพจิตสาธารณะมากำกับ เพื่อบุคคลจะได้ลดละความเห็นแก่ตนในระดับที่พอดำรงชีวิตอยู่ได้ เสียสละ เกื้อกูลคนอื่น เป็นผู้รับในบางโอกาสและเป็นผู้ให้ในบางโอกาส มีจิตใจที่ดีงาม มีร่างกายที่สะอาดสดใสก็เท่ากับว่าบุคคลได้ส่งเสริมหรือพัฒนาบุคลิกภาพแล้วนั่นเอง

การประเมิน
     อาจารย์ :  เตรียมเนื้อหาการสอนและสื่ออุปกรณ์การสอนมาอย่างครบถ้วนอธิบายเนื้อหาได้อย่างดีมาก
     ตนเอง   : ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
     เพื่อน     : ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือดีมาก

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


บันทึกการเรียน วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการบริหาร

กลุ่มที่ 1  ชื่องานวิจัย ความเป็นผู้บริหารมือชีพของมหาบัณฑิต

 ผู้วิจัย    อัญชลี พิมพ์พจน์   ปีการศึกษา   2553
สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
 1. เพื่อศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใน 9 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน  ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิจัยทางการศึกษา  ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ตามความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานขิงมหาบัณฑิต
 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา   มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำแนกตามสถานภาพ หน่วยงานที่สังกัดและปีที่สำเร็จการศึกษา




กลุ่มที่ 2  ชื่องานวิจัย การศึกษาสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ
#ไม่ทราบนามผู้วิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

1. เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัยจำแนกตามตัวแปรประสบการณ์สอนและขนาดของโรงเรียน
3. เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ





กลุ่มที่ 3 ชื่องานวิจัย การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย


 ผู้วิจัยนางสาวกัญวัญญ์  ธารีบุญ   ปีการศึกษา 2557

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

1. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
2. เพื่อทราบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารศาสตร์ศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
3. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย



นำเสนอคำคม
     1. นางสาวปัณฑิตา  คล้ายสิงห์
     2. นางสาวชนากานต์  แสนสุข
     3. นางสาวภัทรวรรณ  หนูแก้ว
     4.นางสาวศุทธินี  โนนริบูรณ์
     5.นางสาวสุจิตรา  มาวงษ์


การประเมิน
     อาจารย์ : อาจารย์ได้แนะนำถึงบทบาทผูู้บริหารและอธิบายเสริมในเรื่องของงานวิจัยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและได้ความรู้ที่กว้างขึ้น
     ตนเอง   : ได้ความรู้ที่หลากหลาย และมีความตั้งใจให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
     เพื่อน     : ตั้งใจเรียน มีมาสายบ้างเล็กน้อย ทุกคนให้คนร่วมมือในการเรียนการสอนอย่างดีและมีการแสดงความคิดเห็นหลากหลาย

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
*ขาดเรียน


บันทึกการเรียน วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


บันทึกการเรียน วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


ความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนองานกลุ่ม
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
กระทรวงทางการศึกษาที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัย ที่จัดเป็นในรูปแบบศูนย์เด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์

โรงเรียนชั้นเตรียมประถม
การจัดการศึกษาระหว่างขั้นอนุบาลไปสู่ขั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน


การประเมิน
     อาจารย์ :  อาจารย์แนะนำเนื้อหาเพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจง่ายและ ทำให้นักศึกษาได้แนวคิดและความรู้ใหม่เพิ่มเติมจากข้อมูลที่หามานำเสนอ
     ตนเอง   : ตั้งใจเรียน และตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ
     เพื่อน     : กลุ่มที่รายงานหาข้อมูลได้ดีและเพื่อนที่ฟังให้ความร่วมมือในการตอบคำถามดีมาก

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4



บันทึกการเรียน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


ความรู้ที่ได้รับ
ศึกษาประเภทของโรงเรียน

โรงเรียนอนุบาล
เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับก่อนประถมศึกษา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
การให้การศึกษาพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน เตรียมความพร้อม เรียนรู้ทักษะ วิชาต่างๆ ด้วยการบูรณาการผสมผสานและการทำกิจกรรมต่างๆ  เด็กจะได้รับการฝึกฝนในการสร้างจิตใจที่ดีงามจนกลายเป็นนิสัยที่ดีต่อไปในอนาคต เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
สถานรับเลี้ยงเด็กและพัฒนาเด็กอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ไม่รวมสถานพยาบาล หรือโรงเรียนของรัฐและเอกชน

สถานรับเลี้ยงเด็ก Nursery
สถานที่รับเลี้ยงดูเด็กเล็กก่อนวัยอนุบาล ซึ่งเราสามารถเรียกว่าเป็น “สถานรับเลี้ยงเด็ก”  โดยส่วนใหญ่จะรับเลี้ยงดูเด็กเล็กอายุแรกเกิดถึง 3 ขวบ แต่บางแห่งอาจรับเฉพาะในระดับ 2-3 ขวบ คือระดับ “เตรียมอนุบาล” และบางแห่งอาจรับดูแลเด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ขวบ (เตรียมประถม)




นำเสนอคำคม
     1. นางสาวเปมิกา   ชุติมาสรรค์
     2. นางสาวกรกช    เดชประเสริฐ
     3. นางสาวจรีพร     เฉลิมจาน
     4. กมลรัตน์            มาลัย
     5. ปรางชมพู          บุญชม

ภาพประกอบการเรียนการสอน









การประเมิน
     อาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
     ตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
     เพื่อน     : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บันทึกการเรียน วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ

     บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร

          ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ
              ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป์ บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้

          ประเภทของผู้นำ
              1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่
                1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership)
                1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leadership)
                1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ(Symbolic Leadership)

              2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ
                2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership)
                2.2 ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ (Free-rein Leadership)
                2.3 ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) 

              3. ผู้นำตามบทบาทหน้าที่แสดงออก
                2.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership)
                2.2 ผู้นำแบบนักการเมือง (Manipulater Leadership) 
                2.3 ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Leadership) 

ศ             ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย Michigan ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้นำแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
                      1. ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) คือผู้นำที่เน้นความมีสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน กับบุคคลทั่วไป ยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน
                      2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ มองพนักงานเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เกิดผลงาน

              คุณสมบัติของผู้นำ  
                      ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ จะต้องเป็นมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาภายหลังได้ (Leader are bone, not made)

              คุณสมบัติพื้นฐานที่ทำให้ผู้นำแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
                       1. ความมุ่งมั่น (Drive) 
                       2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Lead ership Motivation)
                       3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
                       4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
5.                    5. ความมั่นใจในตนเอง (Self-confidence)
                       6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)

นำเสนอคำคม
     1. นางสาววันเพ็ญ      ใหม่สุด
     2. นางสาวจงรักษ์       หลาวเหล็ก
     3. นางสาวรัชดา          เทพเรียน


ภาพประกอบการเรียนการสอน





การประเมิน
     - อาจารย์ : แต่งการเรียบร้อยสุภาพ มาสอนตรงต่อเวลา อธิบายยกตัวอย่างข้อมูลในการสอนได้อย่างดีและกระชัดเข้าใจง่าย
     - ตนเอง   : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกสม่ำเสมอ
     - เพื่อน     : เข้าเรียนตนต่อเวลาเป็นบางส่วน ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกการเรียน วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
 - ความหมาย
     - การบริหาร หมายถึง การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
     - การศึกษา หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี
     - การบริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร
 - ความสำคัญ
     เพื่อความอยู่รอดขององค์กร การเรียนรู้เพื่อบริหารองค์กร จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของงานบุคลากรตลอดจนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม (จันทรานี สงวนนาม (2545) )
- หลักการบริหารงานบุคคล
       สำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ (2545) ให้แนวคิดในการบริหารและการจัดการที่ดี เพื่อมาปรับใช้ในบริทบขององค์กรทางการศึกษา ในประเด็นดังนี้
     1. กำหนดจุดหมาย ผลที่คาดหวัง หรื
     2. กระบวนการบริหารและการจัดการที่ดี
     3. ทรัพยากรในการบริหารจัดการที่ดี
     4. ระบบควบคุม
     5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารและการจัดการที่ดี
- ขอบข่ายการปฏิบัติงานของสถานศึกษาในการบริหารงานบุคคล
   ประกอบด้วย
      1. การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
      2. การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
- ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา
      - ทฤษฎี คือ กลุ่มของข้อเสนอของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันและกัน
- พัฒนาการของทฤษฎีการบริหาร 
 ทฤษฎีการบริหาร
      1. การบริหารเชิงวิทย์ (เทเลอร์)
      2. ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (Henry fayol) มีหลักการบริหาร 14 ข้อ หลักการ ขั้นตอนการบริการ
          Po ccc
      3. การยอมรับอำนาจหน้าที่ (Chester Bamard)
      4. Luther gulick ใช้หลักการของ Fayol โดยใช้คำย่อว่า POSDCORB ซึ่งเป็นหน้าที่ 7 ประการ
      5. Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
      6. Abraham Maslow ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
      7. Douglas Mcgregor ทฤษฎี x ทฤษฎี y
      8. ทฤษฎีที่เกิดขึ้นใหม่ ทฤษฎี z

กิจกรรมในระหว่างการเรียนการสอน
    - ออกไปนำเสนอทฤษฎีที่ตนเองค้นคว้ามา นำเสนอทฤษฎีของ Max Weber
          - Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
             1. มีกฎระเบียบข้อคับเพื่อควบคุมการตัดสินใจ
             2. ความไม่เป็นส่วนตัว 
             3. แบ่งงานกันทำตามความถนัด ความชำนาญเฉพาะทาง
             4. มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
             5. ความเป็นอาชีพที่มั่นคง
             6. มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ โดยมีกฎระเบียบรองรับ
             7. ความเป็นเหตุเป็นผล

นำเสนอคำคม
     1. นางสาวสุทธิกานต์    กางพาพันธุ์
     2. นางสาวชณาภา         คะปัญญา
     3. นางสาวประภัสสร      คำบอนพิทักษ์


ภาพประกอบการเรียนการสอน




การประเมิน
     - อาจารย์ : แต่งการเรียบร้อยสุภาพ มาสอนตรงต่อเวลา ใช้สื่อในการสอนเหมาะสมรวมถึงอธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย
     - ตนเอง   : เข้าเสียสาย 3 นาที แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอในการเรียน
     - เพื่อน     : เข้าเรียนตนต่อเวลาเป็นบางส่วน ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ