!-- SCM Music Player http://scmplayer.net -->

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บันทึกการเรียน วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ

     บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร

          ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ
              ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป์ บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้

          ประเภทของผู้นำ
              1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่
                1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership)
                1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leadership)
                1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ(Symbolic Leadership)

              2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ
                2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership)
                2.2 ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ (Free-rein Leadership)
                2.3 ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) 

              3. ผู้นำตามบทบาทหน้าที่แสดงออก
                2.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership)
                2.2 ผู้นำแบบนักการเมือง (Manipulater Leadership) 
                2.3 ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Leadership) 

ศ             ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย Michigan ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้นำแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
                      1. ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) คือผู้นำที่เน้นความมีสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน กับบุคคลทั่วไป ยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน
                      2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ มองพนักงานเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เกิดผลงาน

              คุณสมบัติของผู้นำ  
                      ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ จะต้องเป็นมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาภายหลังได้ (Leader are bone, not made)

              คุณสมบัติพื้นฐานที่ทำให้ผู้นำแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
                       1. ความมุ่งมั่น (Drive) 
                       2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Lead ership Motivation)
                       3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
                       4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
5.                    5. ความมั่นใจในตนเอง (Self-confidence)
                       6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)

นำเสนอคำคม
     1. นางสาววันเพ็ญ      ใหม่สุด
     2. นางสาวจงรักษ์       หลาวเหล็ก
     3. นางสาวรัชดา          เทพเรียน


ภาพประกอบการเรียนการสอน





การประเมิน
     - อาจารย์ : แต่งการเรียบร้อยสุภาพ มาสอนตรงต่อเวลา อธิบายยกตัวอย่างข้อมูลในการสอนได้อย่างดีและกระชัดเข้าใจง่าย
     - ตนเอง   : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกสม่ำเสมอ
     - เพื่อน     : เข้าเรียนตนต่อเวลาเป็นบางส่วน ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกการเรียน วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
 - ความหมาย
     - การบริหาร หมายถึง การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
     - การศึกษา หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี
     - การบริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร
 - ความสำคัญ
     เพื่อความอยู่รอดขององค์กร การเรียนรู้เพื่อบริหารองค์กร จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของงานบุคลากรตลอดจนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม (จันทรานี สงวนนาม (2545) )
- หลักการบริหารงานบุคคล
       สำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ (2545) ให้แนวคิดในการบริหารและการจัดการที่ดี เพื่อมาปรับใช้ในบริทบขององค์กรทางการศึกษา ในประเด็นดังนี้
     1. กำหนดจุดหมาย ผลที่คาดหวัง หรื
     2. กระบวนการบริหารและการจัดการที่ดี
     3. ทรัพยากรในการบริหารจัดการที่ดี
     4. ระบบควบคุม
     5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารและการจัดการที่ดี
- ขอบข่ายการปฏิบัติงานของสถานศึกษาในการบริหารงานบุคคล
   ประกอบด้วย
      1. การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
      2. การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
- ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา
      - ทฤษฎี คือ กลุ่มของข้อเสนอของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันและกัน
- พัฒนาการของทฤษฎีการบริหาร 
 ทฤษฎีการบริหาร
      1. การบริหารเชิงวิทย์ (เทเลอร์)
      2. ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (Henry fayol) มีหลักการบริหาร 14 ข้อ หลักการ ขั้นตอนการบริการ
          Po ccc
      3. การยอมรับอำนาจหน้าที่ (Chester Bamard)
      4. Luther gulick ใช้หลักการของ Fayol โดยใช้คำย่อว่า POSDCORB ซึ่งเป็นหน้าที่ 7 ประการ
      5. Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
      6. Abraham Maslow ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
      7. Douglas Mcgregor ทฤษฎี x ทฤษฎี y
      8. ทฤษฎีที่เกิดขึ้นใหม่ ทฤษฎี z

กิจกรรมในระหว่างการเรียนการสอน
    - ออกไปนำเสนอทฤษฎีที่ตนเองค้นคว้ามา นำเสนอทฤษฎีของ Max Weber
          - Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
             1. มีกฎระเบียบข้อคับเพื่อควบคุมการตัดสินใจ
             2. ความไม่เป็นส่วนตัว 
             3. แบ่งงานกันทำตามความถนัด ความชำนาญเฉพาะทาง
             4. มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
             5. ความเป็นอาชีพที่มั่นคง
             6. มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ โดยมีกฎระเบียบรองรับ
             7. ความเป็นเหตุเป็นผล

นำเสนอคำคม
     1. นางสาวสุทธิกานต์    กางพาพันธุ์
     2. นางสาวชณาภา         คะปัญญา
     3. นางสาวประภัสสร      คำบอนพิทักษ์


ภาพประกอบการเรียนการสอน




การประเมิน
     - อาจารย์ : แต่งการเรียบร้อยสุภาพ มาสอนตรงต่อเวลา ใช้สื่อในการสอนเหมาะสมรวมถึงอธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย
     - ตนเอง   : เข้าเสียสาย 3 นาที แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอในการเรียน
     - เพื่อน     : เข้าเรียนตนต่อเวลาเป็นบางส่วน ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560



บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

บันทึกการเรียน วันที่ 11 มกราคม 2560

อนุทิน

อาจารย์แจกแนวการสอน

------------------------------------------------

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คณะศึกษาศาสตร์

แนวการสอน ( Course    Syllabus )

ชื่อวิชา (ภาษาไทย)               : การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย

ชื่อวิชา (ภาษาอังกฤษ)          : School Administration in Early Childhood

รหัสวิชา                                  : EAED 5401                      จำนวนหน่วยกิจ 3(3-0-6)

ผู้สอน                                      : ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤน์     ตุ๊หมาด

วัน / เวลาเรียน                        : วันพุธ  เวลา 08:30 - 11:30 น. กลุ่ม 101



--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำอธิบายรายวิชา
                
                  ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสถานศึกษาประเภทของสถานศึกษาปฐมวัย บทบาท หน้าที่ของผู้บริหารรูปแบบการบริหารสถานศึกษาปฐมวัย การจัดโครงสร้างขององค์กร การจัดระบบงานบริหาร บุคลิกภาพคุณลักษณะและสมรรถนะของผู้บริหาร การดำเนินการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กและสถานศึกษาปฐมวัย การนิเทศและติดตามผลการปฏิบัติงานของบุคลากร การทำงานร่วมกับผู้ปกครองท้องถิ่นและชุมชน และการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาปฐมวัย


ความรู้ที่ได้รับ
     - อาจารย์แจกแนวการสอนพร้อมกับอธิบายข้อมูลและทำข้อตกลงในการมาเรียน
     - แจกใบบันทึกการมาเรียน
     - ให้ทำแบบทดสอบความรู้เดิมก่อนเข้าสู่บทเรียน


เอกสารประกอบการเรียนการสอน


แนวการสอน






ใบบันทึกการมาเรียน





แบบทดสอบก่อนเรียน


การบ้าน
     - คำคมเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
     - ทำ Blogger
     - หาทฤษฏีเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา คนละ 2 ทฤษฎี 

การประเมิน
     - อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุขภาพเรียบร้อย อธิบายข้อมูลก่อนเข้าสู่บทเรียนได้อย่างชัดเจนเข้าใจง่าย
      - ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดบันทึกในเวลาครูสอนเป็นอย่างดี
      - เพื่อน   : มาเรียนตรงต่อเวลาเป็นบางส่วน ตั้งใจฟังและจดบันทึกในเวลาครูสอนดี