วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


บันทึกการเรียน วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560



ความรู้ที่ได้รับ

เทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร

ความหมายของบุคลิกภาพ

ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่รวมอยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งและเป็นผลทำให้บุคคลนั้น มีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 สภาพ ด้วยกันคือ

            บุคลิกภาพภายนอก สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึกเลียนแบบ และสามารถวัดผลได้ทันที บุคลิกภาพภายนอกที่สำคัญที่สุด คือ บุคลิกภาพทางกายและวาจา

            บุคลิกภาพภายใน หมายถึง บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นส่วนที่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัส

ประเภทของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพภายนอก  คือ  สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของแต่ละคนสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แบ่งได้เป็น  
            4 หมวด คือ
            1.  รูปร่างหน้าตา
            2.  การแต่งกาย
            3.  กิริยาท่าทาง
            4.  การพูด

บุคลิกภาพภายใน  คือ สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ หรืออุปนิสัยใจคอที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้  แก้ไขได้ยาก  เช่น
1. ความเชื่อมั่นในตนเอง              2. ความกระตือรือร้น

             3. ความรอบรู้                                4. ความคิดริเริ่ม

             5. ความจริงใจ                              6. ไหวพริบปฏิภาณ

             7. ความรับผิดชอบ                       8. ความจำ

             9. อารมณ์ขัน

การมองตัวเองในกระจกเงา

ì การมองเห็นตัวเอง

ì การยอมรับตัวเอง

ì การเข้าใจในตัวเอง

ì ความเชื่อถือตัวเอง

ì ความต้องการเปลี่ยนตัวเอง

หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ
การยืน เดิน นั่งเป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอิริยาบถคือการเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม
การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่างๆการไปเยี่ยมคนป่วยการมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น
บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี

แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ
การรักษาสุขภาพอนามัย
      -  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
      รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
      -  ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มหรือลดผิดปกติ
      -  ละเว้นการสูบบุหรี่หรือยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
      -  ไม่ดื่มสิ่งของที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
      -  พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ วันละ 7-8 ชม.
      -  รักษาอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ

การดูแลร่างกาย
    -  รักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน
    -  ดูแลรักษาเส้นผมและทรงผมให้เรียบร้อยทั้งด้านความสะอาดและรูปทรง
    -  โกนหนวดเคราให้เกลี้ยงเกลา ตัดและขริบให้เรียบร้อย
    -  รักษาผิวพรรณให้สะอาดสดชื่นอยู่เสมอ อย่าให้ผิวแห้งกร้าน
    -  รักษากลิ่นตัว 
    -  รู้จักการแต่งหน้าแต่พองาม
    -  ดูแลเล็บมือ เล็บเท้า ให้สะอาดอยู่เสมอ
    -  ปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในที่สวมใส่ทุกวัน
    -  ควรมีการเช็คร่างกายเป็นประจำทุกปี
    -  เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติรีบไปปรึกษาแพทย์

การแต่งกาย
     -  สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักรีดให้เรียบ
     -  สีสันไม่ฉูดฉาดควรเลือกสีให้เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณของตนเอง
     -  กระเป๋าถือและรองเท้า ควรใช้หนังที่มีคุณภาพดี สีเรียบ สำรวจส้นรองเท้าจัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อย
     -  แต่งหน้าให้แนบเนียน ไม่แต่งเข้มผิดธรรมชาติ เลือกใช้เครื่องสำอางที่มีคุณภาพดี
     -  เล็บและการทาเล็บ ไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไป ควรเลือกสีกลาง ๆ อย่าปล่อยให้สีถลอกจะไม่น่าดู
     -  ผม หมั่นสระให้สะอาด  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง  แปรงหวีให้เรียบร้อย เลือกทรงผมที่รับกับใบหน้า
     -  เครื่องประดับ ควรใช้เพื่อเสริมการแต่งกายให้ดูดีขึ้น แต่ไม่ควรใช้เครื่องประดับมากจนเกินไปจนดูสะดุดตารกรุงรังไปหมด
     -  ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
     -  ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

อารมณ์
        รู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ไปตามใจตนเอง  คนที่ควบคุมอารมณ์ตนเองได้จะได้เปรียบและจะเอาชนะเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นได้  ในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนอารมณ์กันอยู่เสมอ
        ฉะนั้น บุคคลใดที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนให้ดีขึ้นจะต้องเป็นคนรู้จักอดทนใจเย็นเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเกิดขึ้น

ความเชื่อมั่นในตนเอง
      -  ยอมรับในความสามารถของตนเอง
      -  อย่าเล็งผลเลิศในการทำงานจนเกินไป
      -  อย่าถือคติว่าการทำงานสิ่งใดเมื่อทำแล้วต้องดีที่สุด
      -  อย่านำความเก่งของผู้อื่นมาทับถมตนเอง
      -  หมั่นฝึกจิตใจตนเองให้ชนะความกลัวให้ได้

การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด
ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี
ไม่มองคนในแง่ร้ายจิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้นจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้
    1.  มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่าง ๆ
    2.  มีความซื่อสัตย์ กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา แล้วความไว้วางใจจะตามมา มีเรื่องสำคัญเขาก็จะให้เราทำ
    3.  มีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับผู้ที่มอบหมายไว้วางใจให้เราทำ
    4.  มีความกระตือรือร้น ที่อยากจะทำ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
    5.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ
    6.  มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา
    7.  มีความรอบรู้                   
    8.  ห่วงตัวเอง เติมชีวิตให้กับตัวเอง
    9.  มีความจำแม่น                 
10.   วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ

การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน
  การยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง 
  การปรับปรุงในส่วนที่จะปรับปรุงได้ 
  การใช้สิ่งอื่นๆ เพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพ 
การส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดีควรส่งเสริมคุณภาพจิตสาธารณะมากำกับ เพื่อบุคคลจะได้ลดละความเห็นแก่ตนในระดับที่พอดำรงชีวิตอยู่ได้ เสียสละ เกื้อกูลคนอื่น เป็นผู้รับในบางโอกาสและเป็นผู้ให้ในบางโอกาส มีจิตใจที่ดีงาม มีร่างกายที่สะอาดสดใสก็เท่ากับว่าบุคคลได้ส่งเสริมหรือพัฒนาบุคลิกภาพแล้วนั่นเอง

การประเมิน
     อาจารย์ :  เตรียมเนื้อหาการสอนและสื่ออุปกรณ์การสอนมาอย่างครบถ้วนอธิบายเนื้อหาได้อย่างดีมาก
     ตนเอง   : ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
     เพื่อน     : ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือดีมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น